พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันที่จันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.




เนื้อหา/กิจกรรม

-อาจารย์สอนเรื่องสมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
สมรรถนะ คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่

ตัวอย่าง : ความทรงจำ
3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้

ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
1. ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น 
2. สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น 
3.ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว” 
4. ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น 
5.ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์


**เนื่องจากอาจารย์ไม่ค่อยสบาย จึงเอา Power point ลงให้ แล้วให้นักศึกษาไปอ่านและทำความเข้าใจเพิ่มเติม





วันที่พฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.




เนื้อหา / กิจกรรม

-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหว โดยเริ่มจากการบริหารสมอง



-จากนั้นให้ทำท่าการเคลื่อนไหวตามวีดีโอ






-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกับกระดิ่ง ให้รู้จักกับเสียงที่แตกต่างกัน โดยมีข้อตกลงว่า คุณครูกดกระดิ่ง(เสียงสูง) ให้เด็กๆ ทำตัวสูงๆ แล้วคุณครูกดกระดิ่ง(เสียงต่ำ) ให้เด็กทำตัวเล็กๆ หรือสามารถเปลี่ยนข้อตกลงได้ตามดุลพินิจของครู



ทักษะที่ได้

การกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ และใช้จินตนาการในการคิดข้อตกลงของกิจกรรมที่สอน


ประยุกต์ใช้

นำไปใช้ในการสอนได้จริง อีกทั้งยังมั่นใจมากขึ้นเมื่อเราไปสอนจริง

บรรยากาศในห้องเรียน

อากาศเย็นสบาย การเรียนสนุกสนาน เรียนแล้วมีความสุข

ประเมินตนเอง  -------  เข้าเรียนตรงเวลา สนใจ และตั้งใจทำทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน --------- เข้าเรียนตรงเวลาบ้าง มาสายบ้าง  ทุกคนตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ดี

ประเมินอาจารย์ ------ สอนสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่กดดัน ทำให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงออกอย่าเต็มที่






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น