พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
วันที่จันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.


เนื้อหา/กิจกรรม

-อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปนำเสนอนักทฤษฎี เกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

กลุ่มที่ 1 (กลุ่มตัวเอง) นำเสนอทฤษฎีด้านสังคมของอัลเบิร์ต แบนดูร่า และอิริคสัน

ทฤษฎีอัลเบิร์ต แบนดูรา

แบนดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ
ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะใม่เกิดขึ้น
2. กระบวนการจดจำ  ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม 
3. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4. กระบวนการการจูงใจ แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้ 

ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร

การเคลื่อนไหวของเด็กเกิดขึ้นจากการสังเกตและเลียนแบบการเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมต่างๆ เช่นเด็กดูโทรทัศน์หรือเห็นพ่อแม่ทำพฤติกรรมอะไรเด็กมักจะจำและนำมาทำตาม ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวตามที่เลียนแบบ

 ทฤษฎีอิริคสัน

อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น

ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่

----------------------------------------สำหรับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย------------------------------------


ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง

ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร

ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้

  


กลุ่มที่ 2 ด้านร่างกาย นักทฤษฎีคือ ฟรอยด์ , กีเซล 

ทฤษฎีด้านร่างกายของ กีเซล
กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆของร่างกาย
กีเซลล์ ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 
1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ 
3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและ 
4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง 

ทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์
ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้

2. ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ และการถ่ายอุจจาระ

3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น  เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับเด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อ ในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิพปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิง

4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสม ในขั้นนี้ เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน 

5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogenous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genital Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตนมีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตามสัญชาตญาณทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่



-กลุ่มที่ 3 พัฒนาการด้านสติปัญญา  นักทฤษฎีคือ เพียร์เจต์ 

ทฤษฎีของเพียเจต์
เพียเจต์ อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัสต่อมาจึงเกิดความคิด
ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหว และสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่


กลุ่มที่ 4 ด้านความคิดสร้างสรรค์ นักทฤษฎีคือ กิลฟอร์ด , ทอร์แรนซ์ , Divito

อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น

Torrance เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ “The creative problem solving process”


กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3

ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
Torrance ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจนบางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว
2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
4. ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติมเสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ นวนิยาย บทเพลง จิตรกรรม และการออกแบบอื่นๆ เป็นต้น




วันที่พฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.


-อาจารย์ให้ดูวีดีโอ ที่องค์กรหนึ่งให้ผู้หญิงที่มีแฟน ไปบอกกับแฟนว่าตัวเองท้องแล้วดูปฏิกิริยาของผู้ชายและนำประสบการณ์มีแบ่งปันกัน เพื่อนเตือนสาวๆ ในการที่จะคบหาดูใจกับผู้ชาย ควรดูให้ดี 



-ให้นักศึกษาออกไปนำท่าเคลื่อนไหวคนละ 1 ท่า 



-จากนั้นแบ่งกลุ่มนักศึกษากลุ่มละ 4-6 คนแล้วให้ช่วยกันคิดท่าเคลื่อนไหว 10 ท่า





-กิจกรรมสุดท้ายหัดให้ครูสบตาเด็ก ไม่อายสายตา ให้มองหน้า สบตา โดยให้ออกไปทำท่าเคลื่อนไหวพร้อมกับสมมติการสอน




ทักษะที่ได้

-การกล้าแสดงออก กล้าสบตาเด็กขณะสอน
-ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดท่าทางต่างๆ


บรรยากาศในการเรียน

เย็นสบายดี เฮฮา สนุกสนาน เรียนแล้วมีความสุข ไม่เครียด ไม่กดดัน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนทันเวลา ตั้งใจทำทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่ และสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน

เข้าเรียนทันบ้าง  มาสายบ้าง แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และมีความสุข 

ประเมินอาจารย์

สอนได้สนุกสนาน ไม่เครียดหรือกดดัน อาจารย์มีเรื่องเล่าประสบการณ์ต่างให้ฟังเยอะแยะมากมาย จึงทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และทำให้อยากทำกิจกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น