พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.



เนื้อหา / กิจกรรม

ไม่ได้ไปเรียน.. เนื่องจากมีอาการท้องเสีย



วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.




ไม่มีการเรียน การสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.



เนื้อหา / กิจกรรม 

ไม่ได้ไปเรียน .. เนื่องจากมีอาการปวดเมื่อยตามกระดูก และมีไข้



วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.


เนื้อหา / กิจกรรม 

กิจกรรมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ทำการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 

(ดิฉัน ทำกิจกรรม หน่วยแมลง เรื่อง มด)






กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่ง

-ต่อมาเป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่ง โดยต้องมีอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น จากที่อาจารย์อธิบาย จะมีมุมอยู่ 4 มุม ครูจะเป็นคนให้คำสั่งกับเด็ก ว่าให้เด็กวิ่งไปที่มุมใด 
เช่น ครูแบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รูปสามเหลี่ยม  กลุ่มที่ 2 ได้รูปวงกลม  และกลุ่มที่ 3 ได้รูปสี่เหลี่ยม ครูก็จะให้คำสั่งว่า คนที่มีรูปวงกลม ให้วิ่งไปที่มุมบ้าน  เป็นต้น  และก่อนที่จะเคลื่อนไหวตามคำสั่ง ก็จะต้องทำเคลื่อนไหวพื้นฐานด้วย ครูสามารถเปลี่ยนเงื่อนไข หรือคำสั่งตามความเหมาะสม





ทักษะที่ได้

-การเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี 
-การใช้จินตนาการ และประสบการณ์เดิมมาใช้ในการแต่งเรื่องเพื่อทำเป็นกิจกรรม


ประยุกต์ใช้

-สอนเด็กในหน่วยแมลง หรือหน่วยต่างๆ ตามที่เด็กสนใจ 


บรรยกาศในการเรียน

อากาศค่อนข้างร้อนในช่วงแรก หลังจากนั้นก็เย็นสบาย ทำกิจกรรมได้สนุกสนาน

ประเมินตนเอง  ------- เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ และร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน -------  ให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  ------ อธิบายกิจกรรมอย่างเข้าใจง่าย นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ 



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.



เนื้อหา /กิจกรรม

-ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอการสอน ออกมาสอนกิจกรรมแบบผู้นำผู้ตาม 





วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.



เนื้อหา / กิจกรรม

-อาจารย์อธิบายการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยให้นักศึกษาคิดเรื่องของตัวเองเพื่อที่จะนำมาสอน

โดยก่อนที่จะเริ่มขึ้นเรื่อง ก็ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานก่อน แล้วถึงตามด้วยเคลื่อนไหวแบบคำบรรยาย  ตามด้วยการผ่อนคลาย





-เพื่อนออกไปสอนในเรื่อง โนบิตะ (นางสาวอันทิรา  จำปาเกตุ  ครูอัญชัน)



-เพื่อนออกไปสอน (นางสาวศิริพร  พันโญศรัณยา)




ทักษะที่ได้

การกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ  การแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากับสถานการณ์ต่างๆได้

ประยุกต์

นำไปสอน หรือทำกิจกรรมกับเด็กๆได้ 

บรรยกาศการเรียน       อากาศเย็นสบาย ทำกิจกรรมสนุกสนาน

ประเมินตนเอง  ---------  เข้าเรียนทันเวลา เข้าใจกิจกรรมดี  ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน  ---------- หลายคนมาสาย แต่ทุกคนก็ตั้งใจ และเข้าใจกระบวนเป็นอย่างดี และทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์   ----------  อธิบายกิจกรรมได้เข้าใจ และสนุกสนาน อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกเรื่องอุปกรณ์การทำทำกิจกรรมเป็นอย่างดี



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.


เนื้อหา / กิจกรรม

-อาจารย์ให้ออกมานำเสนอการสอนประกอบเครื่องเคาะจังหวะ  และให้เพิ่มเนื้อหาในการทำกิจกรรม เช่น สมมติให้เด็กเป็นปลา ถ้าครูเคาะ ช้าๆ ให้ปลาทำท่าว่ายน้ำไปอย่างอิสระช้าๆ ถ้าครูเคาะรัวๆ ให้ปลาว่ายน้ำอย่างอิสระเร็วๆ  


จากนั้นให้เด็กมายืนเป็นวงกลม แล้วเลือกเด็กมานำทำท่าทางต่างตามหัวข้อที่ครูกำหนดให้  



-ต่อมาเป็นการผ่อนคลายตามคำสั่งซึ่งให้ต่อเนื่องกับเนื้อเรื่องที่ทำกิจกรรมไปเมื่อข้างต้น




-นักศึกษาออกมาสมมติการสอน 



ทักษะที่ได้

-กล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
-ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

ประยุกต์ใช้

-นำไปสอนได้จริงเมื่อออกฝึกสอน หรือจนกระทั่งได้เป็นครูแล้วจริงๆ 
-นำไปทำกิจกรรมให้กับเด็กในที่ต่างๆได้ ตามความเหมาะสม

บรรยากาศในการเรียน

อากาศเย็นสบาย  กิจกรรมสนุกสนาน ทุกคนร่วมกันทำกิจกรรมอย่างมีความสุข

ประเมินตนเอง  -------- เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน  --------- ทุกคนตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมอย่างเต็มที่และสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  --------- สอนได้เข้าใจ และสนุกสนานช่วยแนะนำวิธีการสอนได้อย่างดี



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8
วันเสาร์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559 



เนื้อหา / กิจกรรม

วันนี้มาทำกิจกรรมงานประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ จากวัสดุเหลือใช้  โดยมีอุกรณ์ดังนี้ 

1.กระป๋อง   2. ลูกปัด หรือเมล็ดถั่ว  3.ไหมพรม  4.กาว   5.สิ่งของตกแต่งต่างๆ

ขั้นตอน

1.นำกระป๋องล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำลูกปัด หรือเมล็ดถั่วใส่ในกระป๋องแล้วปิดฝาให้แน่น

2.จากนั้นนำกาวทาแล้วค่อยๆพันไหมพรมให้รอบกระป๋อง

3.เสร็จแล้ว ตกแต่งตามใจชอบ

ผลงานที่ได้


ทักษะที่ได้

-ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ  
-การวางแผน ทำตามลำดับขั้นตอน


ประยุกต์ใช้

-นำไปใช้ประกอบการสอนได้
-นำไปทำเป็นอาชีพได้


บรรยากาศในการเรียน

อากาศเย็นสบาย ทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก


ประเมินตนเอง  ----------- มาตรงเวลา  ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน  ------------  เพื่อนมากันไม่ค่อยเยอะ  แต่ทุกคนที่มาก็ต่างตั้งใจทำชิ้นงานของตนเองอย่างเต็มที่และตั้งใจ

ประเมินอาจารย์  -----------  อาจารย์อำนวยความสะดวกในด้านสถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้นักศึกษาเป็นอย่างดี และให้อิสระในการคิด การทำชิ้นงานอย่างเต็มที่



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7
วันที่จันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.
วันที่พฤหัสบดี ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.



...สอบกลางภาค...




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6
วันที่จันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ


วันที่พฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.


เนื้อหา/กิจกรรม

-ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอการสอนโดยมีอุปกรณ์ประกอบ คือที่เคาะจังหวะ 
ขั้นนำ 
 อธิบายข้อตกลงให้เด็กฟัง ถ้าครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว  ครูเคาะ 2 ครั้ง ให้ก้าว 2 ก้าว คุณครูเคาะติดกันรัวๆ ให้เด็กๆ เคลื่อนที่อย่างอิสระเร็วๆไปได้ทั่วห้องเลย แล้วถ้าครูเคาะจังหวะติดกันดังๆ 2 ครั้ง ให้เด็กๆุหยุดอยู่กับที่ 
ขั้นทำกิจกรรม 
ให้เด็กๆลุกขึ้น หาบ้านของตัวเอง กางแกนออกทั้ง 2ข้าง ว่าชนกับเพื่อหรือไม่ ถ้าชนให้เด็กขยับออก หรือครูเดินไปขยับเด็ก จากนั้นเริ่มกิจกรรม ตามข้อตกลงที่ให้ไว้ข้างต้น





-จากนั้น ให้แต่ละกลุ่มคิดเรื่องที่จะสอนโดยใช้กระดิ่งเป็นเครื่องให้จังหวะ 


ทักษะที่ได้

-กล้าแสดงออก เพื่อที่จะได้ไม่อายหรือเขินในเวลาที่ต้องสอนจริงๆ

ประยุกต์ใช้

นำไปสอนเด็กที่โรงเรียน หรือนำไปจัดกิจกรรมต่างๆให้เด็กในที่ต่างๆได้ตามความเหมาะสม

บรรยากาศในห้องเรียน ---- อากาศเย็นสบาย ทำให้เรียนแล้วเพลิดเพลิน สนุกสนานไม่น่าเบื่อ

ประเมินตนเอง --------- เข้าเรียนได้ทันเวลา และตั้งใจคิด ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน  --------   ทุกคนตั้งใจ และร่วมมือกันดีในการทำกิจกรรมในเวลาเรียน อย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ ------- สอนเข้าใจง่าย เป็นกันเองจึงทำให้การเรียนการสอนผ่านไปได้ด้วยดี และสนุกสนาน


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันที่จันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 10:30 น.




เนื้อหา/กิจกรรม

-อาจารย์สอนเรื่องสมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
สมรรถนะ คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่

ตัวอย่าง : ความทรงจำ
3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้

ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
1. ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น 
2. สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น 
3.ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว” 
4. ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น 
5.ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์


**เนื่องจากอาจารย์ไม่ค่อยสบาย จึงเอา Power point ลงให้ แล้วให้นักศึกษาไปอ่านและทำความเข้าใจเพิ่มเติม





วันที่พฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:30 - 11:30 น.




เนื้อหา / กิจกรรม

-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหว โดยเริ่มจากการบริหารสมอง



-จากนั้นให้ทำท่าการเคลื่อนไหวตามวีดีโอ






-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกับกระดิ่ง ให้รู้จักกับเสียงที่แตกต่างกัน โดยมีข้อตกลงว่า คุณครูกดกระดิ่ง(เสียงสูง) ให้เด็กๆ ทำตัวสูงๆ แล้วคุณครูกดกระดิ่ง(เสียงต่ำ) ให้เด็กทำตัวเล็กๆ หรือสามารถเปลี่ยนข้อตกลงได้ตามดุลพินิจของครู



ทักษะที่ได้

การกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ และใช้จินตนาการในการคิดข้อตกลงของกิจกรรมที่สอน


ประยุกต์ใช้

นำไปใช้ในการสอนได้จริง อีกทั้งยังมั่นใจมากขึ้นเมื่อเราไปสอนจริง

บรรยากาศในห้องเรียน

อากาศเย็นสบาย การเรียนสนุกสนาน เรียนแล้วมีความสุข

ประเมินตนเอง  -------  เข้าเรียนตรงเวลา สนใจ และตั้งใจทำทุกกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน --------- เข้าเรียนตรงเวลาบ้าง มาสายบ้าง  ทุกคนตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ดี

ประเมินอาจารย์ ------ สอนสนุกสนาน ไม่เครียด ไม่กดดัน ทำให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงออกอย่าเต็มที่