พุยพุย

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559
ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน




โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
 ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ ถนนสุขุมวิท 71 กรุงเทพมหานคร
ในที่ดินของธนาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นอาคารเคหะแห่งชาติ)
ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคานึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน
(ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจะบัน)
และอาคารทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ
 เปิดสอนชั้นอนุบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2498
โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์" สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ
กรมสามัญศึกษา

วันที่ 1 ตุลาคม 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อวันทีี่ 12 พฤษาคม 2524
การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร 3 งาน 88 ตารางวา
ซึ่งติดกับแปลงที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา)
ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
รวมเป็นเนื้อที่ผืนเดียวกันรวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา
เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาขยายโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546
โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศในราชกิจจานุเบกขา
 เล่มที่ 120 ตอนที่ 63 ก ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ, ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6

อาคารเรียน

1. อาคารเีรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาึคาร 1) จำนวน 15 ห้องเรียน
สร้างด้วยเงินงบประมาณ ปีั 2513 จำนวน 1,500,000 บาท

2. อาคารเรียนแบบตึกพิเศษ 3 ชั้น (อาคาร 2) จำนวน 17
ห้องเรียนสร้างด้วยเงินงบประมาณปี 2518 จำนวน 3,000,000 งบประมาณปี 2519 จำนวน 450,000 บาท

3. อาคารเีรียนตึกพิเศษ 4 ชั้น (อาคาร 3) มีชั้นดาดฟ้า
สามารถใช้เป็นที่เรียนกิจกรรมได้ มีห้องเรียน 48 ห้องเรียน
สร้างด้วยเงินงบประมาณปี 2526-2528 จำนวนเงิน 16,332,000 บาท รวมอาคารเรียน 3 หลัง
จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 80 ห้องเรียน





ห้องที่ไปศึกษา ชั้น อนุบาลปีที่ 1 / 1



นางไพฑูรย์ ธนูรัตน์ 
ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1 ห้อง 1 จำนวนเด็กปฐมวัย มี 25 คน


การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีรูปแบบการจัดการศึกษา
และนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยอย่างไร ?

นวัตกรรมทางการศึกษา

แนวคิดที่นำมาใช้หลากหลาย แนวคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงดู แนวคิดเกี่ยวกับการเล่น และสังคม
1.มอนเตสเซอรี่
2.การเรียนแบบโครงการ
3.ภาษาธรรมชาติ
4.วอลดอร์ฟ

กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในกิจกรรมเคลื่อนไหว 

จากที่ศึกษาเด็กกำลังทำกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง


วิธีการปะเมินเด็ก

1.ประเมินตามสภาพจริง
2.สัมภาษณ์
3.พูดคุย

ประเมินอะไรบ้าง ? 

ประเมินตามพัฒนาการ

เครื่องมือในการประเมิน

1.แบบประเมินตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
2.แบบประเมิน อบ.01/1   อบ.01/2
แบ่งเกณฑ์เป็น 3 ผ่าน   2 เท่ากับเกณฑ์   และ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์


การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียน และนอกห้องเรียน 

บริเวณภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ ควรมีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ของเล่นที่จัดไว้ เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย





การจัดสภาพแวดล้อมภายนอก
บริเวณกลางแจ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับตัวอาคาร โดยจัดให้ใช้ได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นผิวควรแข็งเพื่อให้แห้งเร็วเมื่อฝนตก ควรตั้งอยู่ทางด้านที่แดดส่องถึง เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแสงแดดยามเช้า บ่อทรายควรอยู่บริเวณนี้ ไม้เลื้อยบนกำแพง ต้นไม้ และแปลงดอกไม้ช่วยให้บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่น่าสบายสำหรับเด็กๆ ส่วนที่สองอยู่ห่างจากตัวอาคารใช้เป็นที่เล่นและออกกำลังกาย ควรจัดเป็นอาณาจักรสำหรับเด็ก ทำทางสำหรับรถเข็นและทางสำหรับเดิน โดยออกแบบทางเดินให้โค้งไปมาน่าเดินและผ่านจุดที่น่าสนใจ เนินเขาเป็นจุดเสริมที่มีคุณค่ามากในสนามเด็กจะได้วิ่งขึ้นและลงเป็นการใช้ กล้ามเนื้อหลายส่วนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของพื้นที่เป็น ที่ตั้งของชิงช้า ไม้ลื่น ต้นไม้พุ่มเตี้ยๆ และปลูกไม้ดอกหรือพืชผักสวนครัว


สื่อ เป็นสื่อที่ทำจากไม้ สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ

นักศึกษาได้รับความรู้อะไรบ้าง ?

เทคนิคการสอนของคุณครูแต่ละท่าน เราก็สามารถนำมาปรับกับการสอนในตัวเราเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสอนเด็กให้เป็นตัวของเรา

ความประทับใจจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้

ทางโรงเรียน และคุณครู ต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองมากๆ ให้ความรู้และตอบคำถามให้อย่างครบถ้วน มีความสนุกสนานเฮฮา ที่เพื่อนออกไปร้องเพลง ออกไปเต้น และร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้ง อาหารอร่อยมาก สุดท้ายนี้อยากฝึกสอนที่โรงเรียนนี้มากค่ะ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น