พุยพุย

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันที่จันทร์  ที่ 18  มกราคม  2559   เวลา 8.30 - 10.30 น.




เนื้อหา / กิจกรรม

อาจารย์สอนเนื้อหาของวิชาการจัดประการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ
เด็กที่ขาดทักษะทางการเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรได้รับการกระตุ้นด้วยปัญหาเพื่อให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง **จุดแห่งความสนใจอยู่ที่กิจกรรม มากกว่าผู้อื่น

สัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ ใช้กำหนดความช้า ความเร็วของการเคลื่อนไหว
1. เสียงจากคน -------- การนับ  การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี  ---------  การเคาะ ตี เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ เหล็ก  หนัง
3.การตบมือ  หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ

ความเป็นมา

มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะมาตลอด เช่น จังหวะเต้นของหัวใจ  การมองเห็น ได้ยิน การย่อยอาหาร
จังหวะธรรมชาติ  ------  กระแสน้ำ  ลมพัด
จังหวะตามกิจวัตรประจำวัน  -------- การเดิน  วิ่ง   ขึ้นบันได

ความสำคัญ
ตอบสนองความต้องการของร่างกาย  ต่อสู้ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่  เพราะจะช่วยให้บุคคลได้ระบายออกทางความรู้สึก  ผ่อนคลายความตึงเครียด และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ ด้วย





กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็ก

1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน  
2. การเคลื่อนไหวเลียนแบบ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
4. การเล่นเกมประกอบเพลง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ 
2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ได้แก่ เดิน  วิ่ง  กระโดด



องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

1. รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่ 
3. ระดับการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ
    5.1 การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    5.2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
    5.3 กรทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะเครื่องมือทุกชนิด
    5.4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานจะปรากฏ 2 - 6 ปี เคลื่อนที่ได้มากขึ้น เดินได้อย่างมั่นคง เพราะมีการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น และเพิ่มทักษะอื่น ๆ เช่น กระโดด ปีนป่าย รวมทั้งทักษะ มือ เช่น การขว้าง การรับ  เด็กวัยนี้ควรได้รับการส่งเสริมด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆเสมอ

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ 

อายุ 2 - 3 ปี เด็กเดินได้อย่างมั่นคง เดินถอยหลังได้ ยืนขาเดียว กระโดดอยู่กับที่  เดินเขย่งเท้าได้  โยนลูกบอลโดยใช้อุ้งมือ แขนทำท่าทางเคลื่อนไหวตามเพลงได้
อายุ 3 - 4 ปี ขึ้น - ลงบันไดสลับเท้าได้  ยืนขาเดียวได้นานขึ้น  กระโดดขาเดียวได้  โยนลูกบอลไกล 1 เมตรได้ รับลูกบอลด้วยมือทั้ง 2 ได้
อายุ 4 - 5 ปี กระโดดสลับเท้า กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางที่ไม่สูงนัก  รับบอลที่กระดอนจากพื้นได้
อายุ 5 - 6 ปี เมื่อวิ่งอย่างรวดเร็ว สามารถหยุดได้ทันที  รับบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้ง 2 ข้าง  กระโดดขาเดียวตรงไปข้างหน้า  เดินต่อเท้าบนขอนไม้ หรือกระดานแผ่นเดียว เต้นตามจังหวะเพลง


หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

*ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ ไม่ควรทีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนัก
*ให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  ความนึกคิด  ความรู้สึกต่างๆ
*ครูเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ตามลำดับ
*ให้เด็กได้เลียนแบบในเรื่องต่างๆ เช่น 
        กิจกรรมตามธรรมชาติ  พายเรือ  ว่ายน้ำ  ยก  แบก  หาม 
        ชีวิตรอบตัวเด็ก  เช่น ในบ้าน  ในโรงเรียน
        ชีวิตสัตว์ต่างๆ  เครื่องเล่น  เครื่องบิน  รถไฟ 
        ความรู้สึกเช่น หัวเราะ   ร้องไห้  ตกใจ รัก  เกลียด
        เสียงต่างๆ  เช่น ติ๊กต๊อก  เปาะแปะ
*พยายามใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเด็ก  เศษวัสดุ  ผ้า เชือก  กระดาษหนังสือพิมพ์
*ครูควรกำหนดจังหวะ สัญญาณนัดหมาย
*การสร้างบรรยากาศอิสระในห้องเรียน
*ครูไม่ควรบังคับเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีเล่นเกม
*ครูจัดเพลงช้า ๆ สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย  สนุกสนาน
*ครูต้องเตรียมกิจกรรมทุกวัน ประมาณ 15 - 20 นาที

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
- การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
- การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
- การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
- ฝึกการความจำ
- การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
- การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญญาณ
- การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย

จัดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

- เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
- พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
- เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
- เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม  พัฒนาทักษะด้านสังคม  การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม
- เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- พัฒนาภาษา  ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
- ฝึกระเบียบวินัย / เรียนรู้จัวหวะ / ความกล้า / ความจำ 
- เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

บทบาทครูในการจัดกิจกรรม

- สนับสนุนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์
- ครูควรสร้างบรรยากาศสร้างให้เด็กมีความมั่นใจ  ความกล้า
- ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป แต่ควรพูดในเชิงเสนอแนะ เมื่อเด็กบางคนยังคิดไม่ออก
- จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15 - 20 นาที
- ก่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้เด็กพักผ่อนนิ่งๆ อย่างน้อย 2 นาที

แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน 
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดี  ที่ 21 มกราคม  2559   เวลา 8.30 - 11.30 น.



เนื้อหา / กิจกรรม 

ก่อนทำกิจกรรม อาจารย์ให้นักศึกษาไปลิ้งค์บล็อกกับอาจารย์ ของใครใส่เนื้อหาแล้วก็จะได้ดาวเด็กดี 2 ดวง 

อาจารย์ให้ออกไปเต้นหน้าห้องทีละคน ตามที่แต่ละคนเตรียมมา อย่างสนุกสนาน









- อาจารย์ให้หาท่าเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ 1 ท่า  และเคลื่อนที่ 1 สำหรับการเรียนในสัปดาห์หน้า


ทักษะที่ได้รับ

ได้ฝึกความกล้าแสดงออกของตนเอง และถือเป็นการฝึกพื้นฐานเพื่อที่ในอนาคตจะได้เป็นครู


ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตามปกติ และทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน แต่ยังไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร คือสามารถทำได้มากกว่านี้ และต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่านี้

ประเมินเพื่อน

เพื่อนบางคนไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร  แต่ทุกคนก็ทำได้เต็มที่ และสนุกสนานมาก

ประเมินอาจารย์

จัดกิจกรรมได้สนุกสนานมาก สื่อในการสอนมีความพร้อม ทำให้สนุกสนาน ไม่ตึงเครียด




วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี  ที่ 14 มกราคม 2559  เวลา 8.30 - 11.30 น




เนื้อหา / กิจกรรม

- อาจารย์แจกใบปั๊มเวลาเรียน
- ให้นักศึกษายืนเป็นรูปตัวยู
- อาจารย์ให้เต้น T26 ตาม วีดีโอ แล้วให้คิดว่าของตัวเองคนละ 1 ท่า แล้วออกมาเต้นหน้าห้องทีละคน แล้วให้เพื่อนเต้นตาม
-ฝึกเต้นคนละ 1 เพลง แล้วมาเต้นในคาบหน้า


ทักษะที่ได้

- กล้าแสดงออก


นำไปประยุกต์ใช้

- ฝึกความกล้าแสดงออก เพื่อที่เวลาฝึกสอน หรือไปเป็นครูจริงๆ จะได้ไม่เขิน


บรรยายกาศในการเรียน

มีความสนุกสนาน เฮฮา ไม่เครียด


ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นในการมาเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่  มีความกล้าแสดงออก


ประเมินเพื่อน

เข้าเรียนสายบ้าง แต่ทำกิจกรมอย่างเต็มที่ และกล้าแสดงออกมาก


ประเมินอาจารย์

จัดกิจกรรมได้สนุกสนาน เป็นกันเอง ทำให้ไม่เครียด